หน่วยที่ 7 อุปกรณ์ป้องกันทางไฟฟ้าและการติดตั้ง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 อุปกรณ์ป้องกันทางไฟฟ้าและการติดตั้ง

 

1. สาระสำคัญ

7.1 มาตรฐานเครื่องป้องกันกระแสเกินและสวิตช์ตัดตอนมาตรฐานเซอร์กิตเบรกเกอร์ ต้องเป็นแบบปลดได้โดยอิสระ (Trip Free) และต้องปลดสับได้ด้วยมือต้องมีเครื่องหมายแสดงพิกัดของแรงดัน กระแส และความสามารถในการตัดกระแสที่เห็นได้ชัดเจนและถาวร หลังจากติดตั้งแล้ว หรือเห็นได้เมื่อเปิดแผ่นกั้นหรือฝาครอบ เซอร์กิตเบรกเกอร์ที่ใช้ในสถานที่อยู่อาศัยหรือสถานที่คล้ายคลึงกัน ขนาดไม่เกิน 125 แอมแปร์

7.2 อุปกรณ์ป้องกันทางไฟฟ้าอุปกรณ์ป้องกันทางไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ป้องกันสายไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าและผู้ใช้ไฟฟ้าอันเนื่อง จากกระแสเกิน กระแสรั่วหรือกระแสลัดวงจร เช่น เซอร์กิตเบรกเกอร์ เครื่องตัดไฟรั่ว ฟิวส์เส้น ปลั๊กฟิวส์ คาร์–ทริดฟิวส์ และเซฟตีสวิตช์ เป็นต้น

7.3 การเลือกใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์และสายไฟฟ้าการเลือกใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์และสายไฟฟ้า โดยที่สายไฟฟ้าของวงจรย่อยต้องมีขนาดกระแสไม่น้อยกว่ากระแสโหลดสูงสุดที่คำนวณได้ และต้องไม่น้อยกว่าพิกัดของเซอร์กิตเบรกเกอร์ป้องกันวงจรย่อย

7.4 แผงย่อย (Panelboard)แผงย่อย (Panelboard) หมายถึง แผงเดี่ยวหรือกลุ่มของแผงเดี่ยวที่ออกแบบให้ประกอบรวมกันเป็นแผงเดียวกัน ประกอบด้วยบัส อุปกรณ์ป้องกันกระแสเกินอัตโนมัติและมีหรือไม่มีสวิตช์สำหรับควบคุมแสงสว่าง ความร้อนหรือวงจรไฟฟ้ากำลัง แผงย่อยนิยมใช้กับระบบไฟฟ้า 1 เฟสและ 3 เฟส คือ   โหลดเซนเตอร์  ส่วนแผงย่อยที่นิยมใช้กับระบบไฟฟ้า 1 เฟสโดยเฉพาะ คือ คอนซูเมอร์ยูนิต

7.5 สรุปสาระสำคัญ

 

2. สมรรถนะประจำหน่วย

2.1 แสดงความรู้เกี่ยวกับการควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส ทำงานแบบเรียงลำดับ

2.2 ปฏิบัติการควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส ทำงานแบบเรียงลำดับด้วยมือและระบบอัตโนมัติ

2.3 เตรียมเครื่องมือได้เหมาะสมกับการปฏิบัติงาน

2.4 เตรียมวัสดุ – อุปกรณ์ ได้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานตามขั้นตอน

2.5 ปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงความละเอียด รอบคอบ และปลอดภัย

2.6 แสดงพฤติกรรมถึงด้านความรับผิดชอบ มีวินัยในตนเอง และมีกิจนิสัยในการสนใจใฝ่รู้

 

3. จุดประสงค์การเรียนรู้

จุดประสงค์ทั่วไป

1.1 บอกมาตรฐานของฟิวส์และเซอร์กิตเบรกเกอร์

1.2 บอกความหมายและการใช้งานเซอร์กิตเบรกเกอร์

1.3 อธิบายลักษณะของแผงจ่ายไฟฟ้าชนิดต่างๆ

1.4 นักศึกษามีการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในด้านความรับผิดชอบ มีวินัยในตนเอง และมีกิจนิสัยในการสนใจใฝ่รู้

 

จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

2.1 บอกมาตรฐานของฟิวส์และเซอร์กิตเบรกเกอร์

2.2 บอกความหมายและการใช้งานเซอร์กิตเบรกเกอร์

2.3 อธิบายลักษณะของแผงจ่ายไฟฟ้าชนิดต่างๆ

2.4 นักศึกษาแต่งกายถูกต้องตามระเบียบข้อตกลง และเข้าเรียนตรงเวลา

2.5 นักศึกษามีความกระตือรือร้นในการใฝ่หาความรู้ มีความรับผิดชอบงานที่ได้มอบหมาย และส่งงานตามกำหนดเวลา

 

4. สาระการเรียนรู้

7.1 มาตรฐานเครื่องป้องกันกระแสเกินและสวิตช์ตัดตอน

7.2 อุปกรณ์ป้องกันทางไฟฟ้า

7.3 การเลือกใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์และสายไฟฟ้า

7.4 แผงย่อย (Panelboard)