เวกเตอร์

ประเภทของปริมาณทางฟิสิกส์

เราจะพบว่ามีปริมาณหลาย ๆ  อย่างที่ใช้ในชีวิตในแต่ละวัน  เช่น  มวล  น้ำหนัก  ระยะทาง  ความเร็ว  ความเร่ง  เวลา  อุณหภูมิ  ฯลฯ  เป็นต้น  ปริมาณเหล่านี้บางอย่างบอกขนาดเพียงอย่างเดียวก็ให้ความหมายที่สมบูรณ์  บางอย่างต้องบอกทั้งขนาดและทิศทางจึงจะให้ความหมายที่สมบูรณ์เราจึงแบ่งปริมาณออกเป็น  2  แบบ  คือ  ปริมาณสเกลาร์กับปริมาณเวกเตอร์

1  ปริมาณสเกลาร์  ( Scalar quantity )  ปริมาณสเกลาร์ เป็นปริมาณที่บอกขนาดเพียงอย่างเดียวก็ให้ความหมายที่สมบูรณ์ เช่น  ระยะทาง  มวล  อัตราเร็ว  อุณหภูมิประจุไฟฟ้า  พลังงาน  ปริมาตร

2 ปริมาณเวกเตอร์  ( Vector  quantity )  ปริมาณเวกเตอร์เป็นปริมาณที่ต้องบอกทั้งขนาดและทิศทางจึงให้ความหมายที่สมบูรณ์  เช่น  ระยะขจัด  น้ำหนัก  ความเร็ว  ความเร่ง  แรง  โมเมนต์  เป็นต้น  การบอกปริมาณเวกเตอร์           จะบอกตัวเลขพร้อมกับหน่วยและทิศทางของเวกเตอร์

1 การวัด

การวัด(Measurement) คือวิธีการที่จะได้มาซึ่งข้อมูลในการนำไปสรุปหรือตั้งกฎเกณฑ์ทางวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลจากผลการวัดที่ถูกต้อง ดังนั้นเครื่องมือวัดจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่สุด การแสดงผลการวัด มี 2 แบบ คือ

                      แบบสเกล (Analog)  เป็นรูปแบบการแสดงผลที่ใช้กันมานานแล้วจนถึงปัจจุบัน  เช่น สเกลไม้บรรทัด  สเกลของตาชั่ง สเกลบนกระบอกตวง  สเกลบนหน้าปัดนาฬิกาแบบเป็นเข็ม  สเกลเครื่องวัดทางไฟฟ้าแบบเข็ม  เป็นต้น  

แบบตัวเลข (Digital) เนื่องจากเทคโนโลยีด้านไมโครอิเล็กทรอนิกส์ได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้เครื่องมือวัดหลายชนิด  แสดงผลการวัดเป็นตัวเลข

2 ระบบหน่วย

                ในอดีตหน่วยที่ใช้สำหรับวัดปริมาณต่างๆ  มีหลายระบบ  เช่น  ระบบอังกฤษ ระบบเมตริกและระบบของไทย ทำให้ไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน  ดังนั้นปัจจุบันหลายๆประเทศ  รวมทั้งประเทศไทยด้วยได้ใช้หน่วยสากลที่เรียกว่า ระบบหน่วยระหว่างชาติ  (The International System of Unit) เรียกย่อว่า ระบบเอสไอ (SI Units) 

แบ่งออกเป็น 3 ประเภท  คือ

2.1 หน่วยมูลฐาน หรือหน่วยฐาน (Base Unit ) เป็นปริมาณหลักของระบบหน่วยระหว่างชาติ  มี 7 ปริมาณ

                2.2 หน่วยอนุพัทธ์ (Derived  Unit)  เป็นปริมาณที่ได้จากปริมาณฐานตั้งแต่ 2 ปริมาณขึ้นไปมาคูณ หารกัน

2.3 หน่วยเสริม ใช้ในการบอกมุม

1) หน่วยเรเดียน( rad ) คือหน่วยของมุมที่จุดศูนย์กลางของวงกลม หรือมุมระนาบ

2) หน่วยสเตอเรเดียน (sr) คือหน่วยของมุมตัน หรือมุมสามมิติ

การบวกเวกเตอร์

ปริมาณเวกเตอร์เป็นปริมาณที่มีทั้งขนาดและทิศทาง เมื่อจะนำมาบวก  ลบ  คูณ  หารกันในทางคณิตศาสตร์ จะต้องพิจารณาถึงทิศทางของเวกเตอร์ด้วย ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณจะแตกต่างกับผลลัพธ์จากการคำนวณทางคณิตศาสตร์โดยทั่วไป

 

 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ติชม


ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

สร้างโดย :


krupla

สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
ไม่ระบุ